วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ผลไม้ไทยใช้เป็นยา

ผลไม้ไทยใช้เป็นยา

มะเฟือง ( Starfruit )

ผล คั้นเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ไข้หวัด บรรเทาอาการนิ่ว ในทางเดินปัสสาวะ ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ช่วยลดอาการร้อนใน ช่วยขจัดรังแค นอกจากนั้นน้ำคั้นจากผลมะเฟื่องยังใช้ลบ รอยเปื้อนบนมือ เสื้อผ้า และของใช้ต่างๆ ได้ดีอีกด้วย ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำ กินแก้ไข้ ขับปัสสาวะ ขับระดู หรือหากนำมาบดให้ละเอียด พอกบนผิวหนัง จะช่วยลดอาการอักเสบ ช้ำบวบ แก้ผื่นคัน กลากเกลื้อน และอีสุกอีใส ราก มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ต้มกับน้ำช่วยดับพิษร้อน แก้อาการปวดศรีษะ ปวดตามข้อต่างๆ ในร่างกาย ปวดแสบในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องร่วง ดอก นิยมนำมาต้มน้ำดื่มเพื่อช่วยในการขับพิษและขับพยาธิ ข้อควรระวัง ผลมะเฟื่องมีกรดออกชาติกอยู่ค่อนข้างสูง ดังนั้น จึงไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไป เพราะจะทำให้เป็นฝ้าได้ อีกทั้งไม่ควรกินในขณะมีประจำเดือน เพราะ จะทำให้รู้สึกปวดท้อง สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินมาก เพราะจะทำให้แท้ได้


ส้มโอ ( Pomelo )

ในส้มโอมีสารเพกทิน ( Pectin ) สูง จึงมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด อีกทั้งยังมีสารโมโนเทอร์ปีนที่ช่วยในการกวดจับสารก่อมะเร็ง นอกจากนั้น ส้มโอยังมีคุณสมบัติพิเศษ อีกประการหนึ่ง คือ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย ใบ ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วย่างไฟให้อุ่น ใช้พอกบริเวณที่ปวดบวม หรือปวดศรีษะได้ เปลือกผล เปลือกผลของส้มโอ มีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด ใช้เป็นยาขับลมขับเสมหะ แก้ท้องอืด แน่นหน้าอก ไอ สามารถใช้เปลือกผลตำพอกฝี และใช้จุดไฟไล่ยุงได้หรือ หากนำเปลือกผลส้มโอมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำไปนึ่งรับประทานทุกเช้าเย็น ก็จะช่วยบรรเทาอาการของโรคหืดได้ เมล็ด ของส้มโอมีสรรพคุณ ช่วยบำรุงกระเพาะอาหารลดอาการปวดบวมของผิวหนัง และยังช่วยลดปริมาณของเสมหะที่มีในลำคอไ้ด้อีกด้วย ผล ช่วยเจริญอาหาร หากรับประทานเนื้อส้มโอหลังอาหาร จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


มะยม ( Star Gooseberry )

เป็นผลไม้พื้นบ้านที่ให้รสเปรี้ยวอมฝาด ในผลมีแคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซีสูง จึงมีฤทธิ์ในการ ช่วยสมานแผล และ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการหลอดลมอักเสบ ในยอดอ่อนมีฟอสฟอรัส ช่วยในการขับเหงื่อ และกระตุ้นการเจริญอาหาร รากของมะยมมีสารแทนนิน( Tannin ) อยู่ค่อนข้างสูง ใช้แก้ไข้ แก้อาการหอบหืด และปวดศรีษะ



มังคุด ( Mangosteen )

เป็นผลไม้ที่เนื้อในของผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน กลมกล่อมและได้รับการยกย่อง ให้เป็นราชินีของผลไม้ทั้งปวง เนื่องจากมีกลีบรองดอกติดอยู่ที่ขั้วคล้ายมงกุฏราชินี ทั้งในเปลือก มังคุดยังมี สารแทนนิน และมี สารแมงโกสติน ( Mangostin ) ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง อยู่มากถึง 7 - 14 เปอร์เซ็นต์ ในแง่สมุนไพร เปลือกมังคุดจึงมีสรรพคุณในการใช้รักษาโรคผิวหนัง และนิยมนำไป สกัดทำเป็นสบู่ ครีมพอกหน้า และยารักษาสิวฝ้าได้อีกด้วย

มะขาม (Tamarind )

นับได้ว่าเป็นผลไม้พื้นบ้านที่คนไทยรู้จักมาช้านาน อีกทั้งเราสามารถนำส่วนต่างๆ ของมะขามมาใช้ประโยชน์ในการรักษาได้แทบทั้งสิ้น เช่น ในเนื้อมะขามมี สารแอนทราควิโนน (Anthraquinone ) ซึ่งจะช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ นอกจากนั้น ยังมีกรดอินทรีย์ ( Oragnic acid ) อยู่หลายชนิด เช่น กรดทาร์ทาริก ( Tartaric acid ) และกรดซิตริก ( Citric acid ) ทำให้มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ เพิ่มกากใยอาหารและช่วยหล่อลื่นให้ขับถ่ายสะดวก


ทับทิม ( Pomegranate )

ในภัมภีร์อายุรเวทของอินเดีย ยกย่องให้ทับทิมเป็นคลังยา เพราะ ส่วนต่างๆ ของทับทิม สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้แทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ผล ซึงมีรสหวานอมเปรี้ยวออกฤทธิ์เป็นยาบำรุงกำลัง แก้เจ็บคอ แก้โลหิตจาง ห้ามเลือด รักษาแผล แก้อาการปวดกระเพาะอาหาร ขับพยาธิในลำไส้ แก้ท้องร่วง เป็นต้น นอกจากนั้น ในเปลือกผลแก่ ของทับทิมยังมีกรด Gallotannic ซึ่งมีฤทธิ์ในการ ยับยั้่งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค แก้อาการท้องเดินได้ ซึงกองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้วิเคราะห์ไว้แล้วว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน ทั้งยังสามารถใช้รักษาโรคบิดที่เกิดจากแบคทีเรียและอะมีบา ได้ผลดีอีกด้วย

มะขามป้อม ( Emblic )


เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยสรรพคุณทางยาที่เราสามารถหาได้ใกล้ๆ ตัว นอกเหนือจากจะมีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 20 เท่า ในปริมาณที่เท่ากันแล้ว มะขามป้อมยังมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาลดไข้ ยาฟอกเลือด ยาระบาย บำรุงหัวใจ ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ริดสีดวง ได้อีกด้วย



อ้างอิง http://secreta.doae.go.th/html/page49.htm
www.oknation.net/blog/home/blog_...pic1.jpg
seedlife.htc.ac.th/board/modules...7239.jpg

 
Wordpress Theme by wpthemescreator .
Converted To Blogger Template by Anshul .